เมนู

สูตรที่ 11



[373] 127. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ 2 อย่างนี้ 2 อย่าง
เป็นไฉน คือ อาบัติชั่วหยาบ 1 อาบัติไม่ชั่วหยาบ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อาบัติ 2 อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ 11

สูตร 12



[374] 128. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ 2 อย่างนี้ 2 อย่าง
เป็นไฉน คือ อาบัติที่มีส่วนเหลือ 1 อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อาบัติ 2 อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ 12
จบอาสาวรรคที่ 1

ตติยปัณณสก์



อาสาวรรคที่ 1



อรรถกถาสูตรที่ 1



ตติยปัณณาสก์ สูตรที่ 1

(ข้อ 363) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาสา ได้แก่ ตัณหา ความอยาก. บทว่า ทุปฺปชหา
ได้แก่ ละได้ยาก คือนำออกได้ยาก. สัตว์ทั้งหลายใช้เวลา 10 ปีบ้าง
20 ปีบ้าง 60 ปีบ้าง รับใช้พระราชา ทำกสิกรรมเป็นต้น เข้า
สู่สงความที่ฝ่ายสองรบประชิดกัน ดำเนินอาชีพเลี้ยงแพะและทำหอก
เป็นต้น แล่นเรือไปยังมหาสมุทร ด้วยหวังว่า พวกเราจักได้วันนี้ พวก

เราจักได้พรุ่งนี้ ดังนี้ เพราะความหวังในลาภเป็นเรื่องละได้ยาก แม้เมื่อ
ถึงเวลาจะตาย ก็ยังสำคัญตนว่าจะอยู่ได้ 100 ปี แม้จะเห็นกรรมและ
กรรมนิมิตเป็นต้น มีผู้หวังดีตักเตือนว่า จงให้ทาน จงทำการบูชาเถิด
ก็ไม่เชื่อคำของใคร ๆ ด้วยหวังอย่างนี้ว่า เราจักยังไม่ตาย นี้เพราะความ
หวังในชีวิตเป็นเรื่องละได้ยาก.
จบอรรถกถาสูตรที่ 1

อรรถกถาสูตรที่ 2



ในสูตรที่ 2 (ข้อ 364) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปุพฺพการี ได้แก่ ผู้ทำอุปการะก่อน.
บทว่า กตญฺญูกตเวที ได้แก่ ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วตอบแทน
ภายหลัง. ในสองท่านนั้น ผู้ทำอุปการะก่อน ย่อมสำคัญว่า เราให้กู้หนี้
ผู้ตอบแทนภายหลัง ย่อมสำคัญว่า เราชำระหนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ 2

อรรถกถาสูตรที่ 3



ในสูตรที่ 3 (ข้อ 365) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ติตฺโต จ ตปฺเปตา จ ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า
และพระขีณาสพผู้เป็นสาวกของพระตถาคต ชื่อว่าผู้อื่มแล้ว. พระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้อิ่มแล้วด้วย ผู้ทำคนอื่นให้อิ่มด้วย.
จบอรรถกถาสูตรที่ 3